Learning City

Home >> Learning City



วัฒนธรรม





เกษตรกรรม





นวัตกรรม


ชื่อโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ลาดกระบัง :เมืองพิเศษแห่งการเรียนรู้สามนิเวศ
Ladkrabang Lifelong Learning City : Special City for Learning the Three Ecologies
สนับสนุนโดยกองทุนส่งเสริม ววน. และหน่วย บพท.

   งานวิจัยฉบับนี้มีเป้าหมายหลักในการสร้างพื้นที่ของการเรียนรู้ผ่านภูมินิเวศของพื้นที่ลาดกระบังใน 3 ระบบคือ ภูมินิเวศการจัดการน้ำและเกษตรกรรม ภูมินิเวศสังคมและวัฒนธรรม และภูมินิเวศการพัฒนาและเมือง ที่ผู้คนที่แตกต่างและหลากหลายในพื้นที่เมืองเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันและกันได้โดยไม่จำกัดอยู่แต่ผู้เชี่ยวชาญ ชุมชน และผู้คน ซึ่งการสร้างการเรียนรู้ในรายงานฉบับนี้ถูกวิเคราะห์ภายใต้กรอบของวงจรการเรียนรู้แบบ Triple Loop Learning ที่ประเมินศักยภาพขององค์ประกอบในการเรียนรู้ทั้ง 4 คือ องค์ความรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ นักจัดการความรู้ และพื้นที่เรียนรู้
   จากมิติของความเป็นเมืองของลาดกระบังตั้งแต่การพัฒนาระบบการจัดการน้ำ ระบบคมนาคมแบบรางและถนน ระบบคมนาคมทางอากาศและการเชื่อมโยงสามสนามบิน ผสมผสานไปกับแนวคิดการพัฒนาเมืองรูปแบบใหม่ๆ (ย่านนวัตกรรม ย่านสร้างสรรค์ และเมืองอัจฉริยะ) บนฐานของบริบทของพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นบริบทด้านเกษตรกรรมและมรดกวัฒนธรรมที่หลากหลาย การสร้างพื้นที่และแพลตฟอร์มเชิงปฏิสัมพันธ์ (Interactive Platform) ซึ่งบูรณาการฐานทุนของพื้นที่เข้ากับสร้างโอกาสและแก้ไขอุปสรรค์ที่เกี่ยวข้องผ่านการสร้างนิเวศของการพัฒนาใหม่ๆในพื้นที่ผ่านแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกันตลอดชีวิต (Lifelong Learning) จึงเป็นหนึ่งในแนวทางการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ในพื้นที่ลาดกระบัง ที่ขับเคลื่อนร่วมกันระหว่างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และกรุงเทพมหานคร จึงเป็นที่มาของการวิจัยในโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ลาดกระบัง : เมืองพิเศษแห่งการเรียนรู้สามนิเวศ ซึ่งมุ่งขับเคลื่อนเมืองผ่านการเรียนรู้ทรัพยากรทางความรู้ที่มีอยู่เดิมให้เกิดนิเวศใหม่ทางเศรษฐกิจที่คนรุ่นใหม่สามารถต่อยอดต่อไปได้


แผนภูมิความเชื่อมโยงกลไกการขับเคลื่อนการเรียนรู้ตลอดชีวิตลาดกระบัง
 
 

กรอบการวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ลาดกระบัง เมืองพิเศษแห่งการเรียนรู้สามนิเวศ
 

ผลของการวิจัยคาดว่าจะได้รับมี 5 ประเด็นคือ
   1.5.1 เกิดการสร้างแนวทางการจัดการเมืองแห่งการเรียนรู้ ผ่านการวิเคราะห์การจัดการองค์ความรู้ จัดการพื้นที่เรียนรู้ การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ และการจัดการนักจัดการเรียนรู้ของพื้นที่เขตลาดกระบัง ด้านการจัดการน้ำและเกษตรกรรม การจัดการวัฒนธรรมและสังคม และด้านการพัฒนาและเมืองของพื้นที่
   1.5.2 สร้างการเรียนรู้ร่วมกันในนิเวศของห่วงโซ่ระหว่างอุปสงค์และอุปทานที่เกี่ยวกับการเกษตรกรรม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่
   1.5.3 สร้างแพลตฟอร์มและแผนที่ของฐานเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการจัดการน้ำและเกษตรกรรม การจัดการวัฒนธรรมและสังคม และการบ่มเพาะการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของพื้นที่
   1.5.4 การประชาสัมพันธ์กิจกรรมของการเรียนรู้ของพื้นที่ลาดกระบัง
   1.5.5 กลไกการการขับเคลื่อนจากการเชื่อมโยงภาคีการพัฒนาหลายภาคส่วน เช่น หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน กลุ่มประชาสังคม โดยมีเป้าหมายหลักในการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต