ข้อมูลสำนักฯ

ข้อมูลเกี่ยวกับสำนักการเรียนรู้ตลอดชีวิตพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ชื่อส่วนงาน

สำนักการเรียนรู้ตลอดชีวิตพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ที่ตั้ง

อาคารเฉลิมพระเกียรติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เลขที่ 1 ซอยฉลองกรุง 1 ถนนฉลองกรุง แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520 โทรศัพท์ 0 2329 8556 โทรสาร 0 2329 8557 www.kllc.kmitl.ac.th

ดอกไม้ประจำสำนัก

ดอกไม้ประจำสำนัก คือ ดอกหางนกยูง

สีประจำสำนัก

สีประจำสำนัก คือ สีเทา

พ.ศ. 2565

เปลี่ยนชื่อจาก “สำนักหอสมุดกลาง (Central Library)” เป็น “สำนักการเรียนรู้ตลอดชีวิตพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL Lifelong Learning Center : KLLC)

ภารกิจ

เป็นสำนักการเรียนรู้ตลอดชีวิตพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL Lifelong Learning Center: KLLC) มีหน้าที่บริการพื้นที่เพื่อสร้างสรรค์การเรียนรู้ ส่งเสริมการพัฒนาทักษะ ความรู้ความสามารถด้านการเรียนการสอนและศักยภาพ สำหรับผู้ใช้บริการทุกช่วงวัย ให้มีขีดความสามารถที่สูงขึ้นทัดเทียมระดับสากลอย่างไร้ ขีดจำกัด และสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)

โครงสร้าง สํานักการเรียนรู้ตลอดชีวิตพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

1.ฝ่ายนวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning Innovation)
มีหน้าที่สนับสนุนด้านการจัดหลักสูตรหรือกิจกรรม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนทุกช่วงวัย เช่น การออกแบบหลักสูตรหรือกิจกรรม ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้รับบริการ การวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน เน้นการสนับสนุนการเพิ่มทักษะที่จําเป็นในการทํางาน จัดโครงการหรือร่วมกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดโครงการ ค้นหาความสามารถเพิ่มพูนทักษะของผู้เรียนและคนทุกกลุ่มวัยในยุคดิจิทัล รวมถึงจัดกิจกรรมเพิ่มพูนทักษะ และสันทนาการอื่น ๆ จัดหลักสูตรฝึกอบรมแบบเน้นกลุ่มผู้เรียนเป็นหลัก การสร้างนวัตกร การออกแบบ บริหารสื่อและการตลาด Kids University เป็นต้น

2.ฝ่ายเทคโนโลยีและพื้นที่การเรียนรู้ (Technology and Learning Area)
มีหน้าที่บริหารจัดการด้านเทคโนโลยี และให้บริการพื้นที่สําหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นศูนย์กลางในเชิงสันทนาการ ให้แก่นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรของสถาบัน และบุคคลภายนอก

3.ฝ่ายบริหารและการจัดการ (Administration and Management)
มีหน้าที่สนับสนุนการบริหารงาน ในการขับเคลื่อนภารกิจ เช่น การกําหนดกลยุทธ์ การบริหารจัดการและธุรการ การจัดการและบริการ ทรัพยากรสารนิเทศ จัดการโมดูลต่าง ๆ ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ บริการฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อ สนับสนุนการศึกษาค้นคว้าและการทําวิจัย บริการยืม-คืนทรัพยากรสารนิเทศ บริการยืมระหว่างห้องสมุด บริการจัดส่งทรัพยากรสารนิเทศถึงผู้ยืม บริหารจัดการหอจดหมายเหตุ Green University และ iThesis เป็นต้น

ประกาศในราช กิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๒๙๕ ลงวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๕
ประกาศสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
(ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๖๕

ประวัติความเป็นมา

สํานักหอสมุดกลางเป็นส่วนราชการในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่วนราชการในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2534 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 94 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2534 โดยมีประวัติความเป็นมา ดังนี้

พ.ศ. 2520

เริ่มบรรจุข้าราชการเพื่อดําเนินการห้องสมุดจํานวน 2 อัตราโดยฝากไว้ที่ห้องสมุดคณะ วิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

พ.ศ. 2523  

เริ่มดําเนินการโครงการสํานักหอสมุดกลาง โดยให้บริการรวมกับห้องสมุดคณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ ณ อาคารชั่วคราว คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

พ.ศ. 2525

แยกตัวโครงการสํานักหอสมุดกลาง ออกจากห้องสมุดคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ โดยเปิดให้บริการแก่นักศึกษา อาจารย์และข้าราชการของสถาบัน ณ ชั้น 2 อาคารโรงอาหาร สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (โรงอาหารอาคารกิจกรรมนักศึกษาในปัจจุบัน)

พ.ศ. 2529 

ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัย ให้มีฐานะเป็นกองห้องสมุด ในสํานักงานอธิการบดี สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และย้ายที่ทําการไปอยู่ ณ ห้องรักษาเอกสาร อาคารศูนย์ เรียนรวมสมเด็จพระเทพฯ เปิดให้บริการแก่นักศึกษา อาจารย์ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของสถาบัน ตลอดจนบุคคลภายนอกด้วย

พ.ศ. 2531

ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีให้กำหนดฐานะเป็นสํานักหอสมุดกลาง

พ.ศ. 2534

ได้รับการจัดตั้งเป็น สํานักหอสมุดกลาง ซึ่งเป็นส่วนราชการในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณ ทหารลาดกระบัง เมื่อวันที่ 29พฤษภาคม 2534 ตามพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งส่วนราชการในสถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2534 ประกาศในราชกิจจา นุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 94 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2534 และแบ่งส่วนราชการเป็น 6 ส่วนงาน คือ สํานักงานผู้อํานวยการ ฝ่ายบริการ ฝ่ายประสานงานห้องสมุดคณะ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด ฝ่าย วิเคราะห์ทรัพยากรห้องสมุด และฝ่ายโสตทัศนศึกษา ตามประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่องการแบ่งส่วน ราชการในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2534 ประกาศในราช กิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 108 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2534

พ.ศ. 2539

ย้ายที่ทําการสํานักหอสมุดกลาง จากห้องรักษาเอกสาร อาคารศูนย์เรียนรวมสมเด็จพระเทพฯ มาอยู่ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2539

พ.ศ. 2540 

เปิดให้บริการ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2540

พ.ศ. 2542 

สถาบันฯ ตัดโอนงานห้องสมุดคณะ ฝ่ายประสานงานห้องสมุดคณะ ไปสังกัดงานห้องสมุด สํานักงาน คณบดี 5 คณะ ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะ วิทยาศาสตร์และคณะเทคโนโลยีการเกษตร ตามคําสั่งสถาบัน ที่ 1574/2542 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2542

พ.ศ. 2543

สถาบันฯ ได้ปรับปรุงการจัดแบ่งส่วนงานในสํานักหอสมุดกลาง เป็น 8 ส่วนงาน คือสํานักงาน ผู้อํานวยการ ฝ่ายบริการสารนิเทศ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารนิเทศ ฝ่าย โสตทัศนศึกษา ฝ่ายเทคโนโลยีสารนิเทศ ฝ่ายวารสารและเอกสาร และฝ่ายหอจดหมายเหตุพระจอมเกล้า ตามคําสั่งสถาบัน ที่ 1158/2543 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543

พ.ศ. 2548

สถาบันฯ ได้ปรับปรุงโครงสร้างสํานักหอสมุดกลางใหม่ โดยโอนบรรดากิจการ ภารกิจ อํานาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของงานห้องสมุดในสํานักงานคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และ งานห้องสมุด วิทยาเขตชุมพร ไปสังกัดสํานักหอสมุดกลาง ตามคําสั่งสถาบัน ที่ 1744/2548 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2548 และปรับปรุงการจัดแบ่งส่วนงานในสํานักหอสมุดกลาง เป็น 15 ส่วนงาน คือ สํานักงาน ผู้อํานวยการ ฝ่ายบริการสารนิเทศ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารนิเทศ ฝ่าย โสตทัศนศึกษา ฝ่ายเทคโนโลยีสารนิเทศ ฝ่ายวารสารและเอกสาร ฝ่ายหอจดหมายเหตุพระจอมเกล้า ฝ่าย ห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ ฝ่ายห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ฝ่ายห้องสมุดคณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม ฝ่ายห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ ฝ่ายห้องสมุดคณะเทคโนโลยีการเกษตร ฝ่ายห้องสมุดคณะ เทคโนโลยีสารสนเทศ และฝ่ายห้องสมุดวิทยาเขตชุมพร ตามคําสั่งสถาบัน ที่ 1745/2548 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2548

พ.ศ. 2550 

สถาบันฯ ได้กําหนดให้งานห้องสมุดและสื่อการศึกษา วิทยาเขตชุมพร สังกัดอยู่ในสํานักงานวิทย บริการ วิทยาเขตชุมพร ตามประกาศสถาบันฯ ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2550 เรื่องแบ่งส่วนงานวิทยาเขตชุมพร ส่งผลให้สํานักหอสมุดกลาง แบ่งส่วนงาน เป็น 14 ส่วนงาน โดยยุบเลิกฝ่ายห้องสมุดวิทยาเขตชุมพร

พ.ศ. 2551

สถาบันฯ ได้ปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐและจัดแบ่งหน่วยงานภายในสํานัก หอสมุดกลาง เป็น 4 หน่วยงาน คือ ส่วนบริหารงานทั่วไป งานเทคนิค งานบริการสารนิเทศ และงาน เทคโนโลยีสารนิเทศ ตามประกาศสถาบัน ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2551

พ.ศ. 2552 

สถาบันฯ ได้ยุบเลิกส่วนบริหารงานทั่วไปของสํานักหอสมุดกลาง ตามประกาศสถาบัน ลงวันที่ 26 มกราคม 2552 ส่งผลให้สํานักหอสมุดกลาง แบ่งหน่วยงานภายในสํานักหอสมุดกลาง เป็น 3 หน่วยงาน คือ งานเทคนิค งานบริการสารนิเทศ และงานเทคโนโลยีสารนิเทศ

พ.ศ. 2557

สํานักหอสมุดกลาง ได้ปรับโครงสร้างการบริหารจัดการภายในสํานักหอสมุดกลาง เป็น 4 หน่วยงาน คือ งานเทคนิค งานบริการสารนิเทศ งานเทคโนโลยีสารนิเทศ และงานสนับสนุนทางการศึกษา ตามมติที่ ประชุมคณะกรรมการประจาสํ ํานักหอสมุดกลาง ครั้งที่ 2/2557 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2557

พ.ศ. 2559

สํานักหอสมุดกลาง ได้ปรับปรุงการจัดแบ่งหน่วยงานในสํานักหอสมุดกลางใหม่ เป็น 5 หน่วยงาน คือ ฝ่ายบริหารและธุรการ ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารนิเทศ ฝ่ายบริการสารนิเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารนิเทศ และ ฝ่ายสนับสนุนทางการศึกษา ตามประกาศสํานักหอสมุดกลาง เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559

พ.ศ. 2561

สํานักหอสมุดกลาง ได้ปรับโครงสร้างองค์กรและการจัดสรรอัตรากําลังภายในสํานักหอสมุดกลาง ตามมติผู้บริหาร สํานักหอสมุดกลาง ในคราวประชุมประจําเดือนมกราคม 2561 เมื่อวันจันทร์ที่ 8 มกราคม 2561 โดยแบ่งเป็น 5 หน่วยงาน คือ ฝ่ายบริหารและธุรการ ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารนิเทศ ฝ่ายบริการสารนิเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารนิเทศ และฝ่ายสนับสนุน ทางกายภาพและสื่อประชาสัมพันธ์ ตามคําสั่งสํานักหอสมุดกลาง ที่ 4/2561 ลงวันที่ 9 มกราคม 2561

พ.ศ. 2564

สํานักหอสมุดกลาง ได้ปรับโครงสร้างการแบ่งส่วนงานภายใน โดยแบ่งส่วนงานใหม่ เป็น 6 หน่วยงาน ตามคําสั่งสํานัก หอสมุดกลาง ที่ 8/2560 ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2560 ประกอบด้วย

1. ฝ่ายบริหารจัดการและธุรการ
2. ฝ่ายประชาสัมพันธ์และการตลาด
3. ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารนิเทศ
4. ฝ่ายบริการสารนิเทศ
5. ฝ่ายเทคโนโลยีและพื้นที่การเรียนรู้
6. ฝ่ายพัฒนาอาจารย์