กิจกรรมห้องทดลองเมืองนวัตกรรม (CITY INNOVATION LAB)
ในพื้นที่ศูนย์กลางนวัตกรรมภูมิภาค
[19 กันยายน 2567]
กิจกรรมห้องทดลองเมืองนวัตกรรม (CITY INNOVATION LAB)
ในพื้นที่ศูนย์กลางนวัตกรรมภูมิภาค
จัดขึ้นจากความร่วมมือกันระหว่าง สำนักการเรียนรู้ตลอดชีวิตพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง KLLC
ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ NIA (องค์การมหาชน)
CITY INNOVATION LAB เป็นกลไก
ในการสนับสนุนผู้ประกอบการในเมืองและสร้างระบบนิเวศนวัตกรรม
และเป็นการสนับสนุนนโยบาย Green University ของสจล. ด้วย
.
ภายในงาน ผศ. ดร.ชดชนก อัฑฒพงศ์
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
เข้าร่วมกิจกรรม พร้อมด้วย รศ. ดร. จรสวรรณ โกยวานิช
ผู้อำนวยการ สำนักการเรียนรู้ตลอดชีวิตพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังได้กล่าวต้อนรับ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม และร่วมกิจกรรมห้องทดลองเมืองนวัตกรรม ที่มีการบรรยาย ซักถาม การจัดการขยะในแต่ละบ้านและแต่ละพื้นที่
โดยวิทยากรด้านการจัดการขยะในเมือง
.
ในการนี้ ผศ. ดร.สักรินทร์ แซ่ภู่
ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักการเรียนรู้ตลอดชีวิตพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
และหัวหน้าโครงการโครงการฯ ได้กล่าวถึงความเป็นมาของกิจกรรม และ แนวคิดการพัฒนาเชิงพื้นที่
1) การพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมภายในเขตเมืองชั้นในหรือเขตพื้นที่ธุรกิจ ย่านปุณณวิถี
2) การพัฒนาย่านนวัตกรรมบนพื้นที่ริมน้ำและเคยเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมเดิมของเมือง ย่านบางนา
3) การพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมและศูนย์วิจัยในพื้นที่นอกเมือง ย่านลาดกระบัง
และยังกล่าวถึง COMMON ISSUE ประเด็นร่วมของเมือง ในเรื่องของ ปริมาณขยะมูลฝอย ที่เพิ่มขึ้น ปัญหาในการดำเนินการกำจัดขยะ ปัญหาในการคัดแยกขยะ
.
ทั้งนี้ คุณเยาวรัตน์ เกกินะ
นักส่งเสริมนวัตกรรม ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรม
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ NIA (องค์การมหาชน) ได้ร่วมกล่าวถึงความเป็นมาของโครงการ ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับทราบและเข้าใจ
.
จากนั้น คุณยุวดี บุญเปี่ยม ผู้อำนวยการ CSR. บริษัท WASTE BUY DELIVERY จาก สถานีรีไซเคิล วงษ์พาณิชย์สุวรรณภูมิ
ได้แนะนำบริการ WASTE BUY Delivery รถรับซื้อขยะถึงที่ เพื่อความสะดวกสบายในการกำจัดขยะ โดยการใช้งานผ่าน Application WASTE BUY Delivery
และการบรรยายก่อนการทำ Workshop โดย
คุณอัครพล ทองพูน
อนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะ และสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ สภาผู้แทนราษฎร
นำเสนอข้อมูล สถานการณ์ปัญหาขยะของประเทศ
ตัวอย่างการจัดการขยะในต่างประเทศ
โมเดลการจัดการปัญหาขยะในไทย
ปัญหาและอุปสรรค ในการคัดแยกขยะ รวมถึงแนวทางการดำเนินการแก้ไข
.
กิจกรรม Workshop ผู้เข้าร่วมได้ร่วมกันระดมความคิดจากประเด็นปัญหาขยะผ่านบอร์ดเกม แบ่งเป็น
Workshop ย่อย 01 ค้นหา บุคลิกภาพของขยะ ประเด็นปัญหา และแรงจูงใจในการจัดการ
Workshop ย่อย 02 ประเด็นเชิงนโยบายและการขยายผล
Workshop การออกแบบ Waste Station
.
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้ นอกจากจะมีนักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่ สจล. แล้ว ยังมี
นายพิทักษ์ วงค์หาร จนท.งานรักษาความสะอาดอาวุโส
นำทีมตัวแทนจากเขตลาดกระบัง เข้าร่วมอีกด้วย
.
การจัดกิจกรรมในวันนี้ สนับสนุนการลด Carbon Footprint โดยคำนึงถึงค่าการปล่อยคาร์บอนจากกิจกรรมต่าง ๆ
โดยทั้งอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการทำ Workshop เป็นวัสดุเหลือใช้นำมา Reuse และ Recycleสามารถใช้ซ้ำได้ในหลาย ๆ ครั้ง
รวมถึงอาหารว่าง และอาหารกลางวัน ที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ล้วนแล้วแต่ลด Carbon Footprint ทั้งสิ้น