กิจกรรมห้องทดลองเมืองนวัตกรรม (CITY INNOVATION LAB)
ในพื้นที่ศูนย์กลางนวัตกรรมภูมิภาค

[19 กันยายน 2567]

ในพื้นที่ศูนย์กลางนวัตกรรมภูมิภาค

ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ NIA (องค์การมหาชน)
CITY INNOVATION LAB เป็นกลไก
ในการสนับสนุนผู้ประกอบการในเมืองและสร้างระบบนิเวศนวัตกรรม
และเป็นการสนับสนุนนโยบาย Green University ของสจล. ด้วย
.

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
เข้าร่วมกิจกรรม พร้อมด้วย รศ. ดร. จรสวรรณ โกยวานิช
ผู้อำนวยการ สำนักการเรียนรู้ตลอดชีวิตพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังได้กล่าวต้อนรับ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม และร่วมกิจกรรมห้องทดลองเมืองนวัตกรรม ที่มีการบรรยาย ซักถาม การจัดการขยะในแต่ละบ้านและแต่ละพื้นที่
โดยวิทยากรด้านการจัดการขยะในเมือง
.

ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักการเรียนรู้ตลอดชีวิตพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
และหัวหน้าโครงการโครงการฯ ได้กล่าวถึงความเป็นมาของกิจกรรม และ แนวคิดการพัฒนาเชิงพื้นที่
1) การพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมภายในเขตเมืองชั้นในหรือเขตพื้นที่ธุรกิจ ย่านปุณณวิถี
2) การพัฒนาย่านนวัตกรรมบนพื้นที่ริมน้ำและเคยเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมเดิมของเมือง ย่านบางนา
3) การพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมและศูนย์วิจัยในพื้นที่นอกเมือง ย่านลาดกระบัง
และยังกล่าวถึง COMMON ISSUE ประเด็นร่วมของเมือง ในเรื่องของ ปริมาณขยะมูลฝอย ที่เพิ่มขึ้น ปัญหาในการดำเนินการกำจัดขยะ ปัญหาในการคัดแยกขยะ
.

นักส่งเสริมนวัตกรรม ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรม
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ NIA (องค์การมหาชน) ได้ร่วมกล่าวถึงความเป็นมาของโครงการ ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับทราบและเข้าใจ
.

ได้แนะนำบริการ WASTE BUY Delivery รถรับซื้อขยะถึงที่ เพื่อความสะดวกสบายในการกำจัดขยะ โดยการใช้งานผ่าน Application WASTE BUY Delivery
และการบรรยายก่อนการทำ Workshop โดย

อนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะ และสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ สภาผู้แทนราษฎร
นำเสนอข้อมูล สถานการณ์ปัญหาขยะของประเทศ
ตัวอย่างการจัดการขยะในต่างประเทศ
โมเดลการจัดการปัญหาขยะในไทย
ปัญหาและอุปสรรค ในการคัดแยกขยะ รวมถึงแนวทางการดำเนินการแก้ไข
.

Workshop ย่อย 01 ค้นหา บุคลิกภาพของขยะ ประเด็นปัญหา และแรงจูงใจในการจัดการ
Workshop ย่อย 02 ประเด็นเชิงนโยบายและการขยายผล
Workshop การออกแบบ Waste Station
.
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้ นอกจากจะมีนักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่ สจล. แล้ว ยังมี
นายพิทักษ์ วงค์หาร จนท.งานรักษาความสะอาดอาวุโส
นำทีมตัวแทนจากเขตลาดกระบัง เข้าร่วมอีกด้วย
.

โดยทั้งอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการทำ Workshop เป็นวัสดุเหลือใช้นำมา Reuse และ Recycleสามารถใช้ซ้ำได้ในหลาย ๆ ครั้ง
รวมถึงอาหารว่าง และอาหารกลางวัน ที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ล้วนแล้วแต่ลด Carbon Footprint ทั้งสิ้น